1.ชุดอุปกรณ์ คันเบ็ดและรอก ได้ทั้งเบทและสปินนิ่ง แต่มักนิยมคันแอ็คชั่นค่อนข้างอ่อน ก้านคันเบ็ดแบบเล็กๆ จะได้เปรียบเรื่องแรงสะบัดในการส่งเหยื่อเข้าสู่เป้าหมาย สปินนิ่งอาจได้เปรียบในเรื่องของการตีเหยื่อเบา ๆ ได้ไกลกว่า การทอยเหยื่อ ก็ทำได้สะดวกกว่า แต่รอกเบทเล็ก ๆ คุณภาพดี ๆ ก็ทำได้ไม่เป็นรองเท่าใดนัก
2.สายที่นิยมใช้ ปกติ นักตกปลาส่วนใหญ่ คงคิดถึงชนิดปลาเป็นหลักในการเลือกใช้สาย แต่จากการพูดคุย กับนักตกปลาญี่ปุ่น ที่เชี่ยวชาญหลายท่าน (อาจารย์สอนตกปลาแบส) ให้ความเห็นว่า สายควรใช้ขนาดเล็ก ๆ เข้าไว้ จะทำให้เหยื่อตีไกล และแม่นยำ
ที่สำคัญที่สุดคือแอ็คชั่นที่ได้จากตัวเหยื่อขณะใช้งาน จะแสดงออกมาได้เต็มที่ เกี่ยวกับสาย PE หรือสายไดนีม่า ไม่นิยมใช้กันเท่าใดนักในเกมน้ำจืด เมื่อแรกผมก็นึกไปถึงราคาของสายชนิดนี้ที่วางขายในญี่ปุ่น มีราคาแพงกว่าสายธรรมดาอยู่ 3-5 เท่าขึ้นไป (ความยาวที่พบได้ส่วนใหญ่คือ 100 เมตร และ 150 เมตร)
ผู้เขียนได้สอบถามดูจากนักตกปลา(ที่น่าจะเชี่ยวชาญการใช้เหยื่อยางหลายท่าน ..จริงๆ แล้วแค่ 3 ท่านครับ ) ได้รับคำตอบทำนองเดียวกันว่า สายไดนีม่านี้ เมื่อเปียกน้ำอาจมีน้ำหนักมากกว่าสายโมโนฟิลาเมนต์ (สายเอ็นธรรมดา) อยู่สักหน่อย รวมถึงเมื่ออยู่ใต้น้ำ การให้ตัวของเหยื่อยาง (เมื่อหวังปลาที่รอกัดเหยื่ออยู่บริเวณหน้าดิน) จะไม่เป็นอิสระเท่าที่ควร จะมีใช้กันมาก ๆ ก็เหยื่อติดหัวจิ๊ก ที่ตีเหยื่อแบบเหยื่อบิน (ลอยกลางน้ำ) มากกว่า
รวมถึงการตกปลา ในเขตแก่งหิน ถึงจะใช้สายชนิดไดนีม่ากัน เพราะเรื่องของประสิทธิภาพด้านการทนต่อแรงเสียดสี ขูดกับแก่งหิน หรือตอไม้ใต้น้ำเป็นต้น ทั้งนี้ชุดลีดเดอร์ (ไม่ใช่ชุดของสาว ๆ เต้นนำเชียร์ นะครับ ... เอิ๊ก ๆ ๆ นอกสาระกันบ้าง) ยังคงใช้สายเอ็นขนาดเล็กอยู่ดี
ปกติจะขึ้นกับขนาดปลา โดยมีใช้กันตั้งแต่ ขนาดราวๆ 2 ปอนด์ ถึง 10 ปอนด์ มากกว่านี้ไม่นิยมใช้ร่วมกับเหยื่อยางตัวเล็ก ๆ แต่หากท่านใดประสงค์ใช้งาน ก็ไม่ผิดแต่ประการใด เพราะคงต้องดูถึงสภาพแวดล้อมการใช้งาน และเทคนิคของนักตกปลาแต่ละท่าน....
3.ตัวเบ็ดที่ใช้ มีมากมายหลายแบบ ทั้งนี้ขึ้นกับชนิด และขนาดของตัวเหยื่อเป็นสำคัญ ถัดไปก็เรื่องของการใช้เหยื่อในแต่ละแบบ จะหน้าดิน เลาะตลิ่ง มุดตอ หรือแม้แต่ใช้แบบเหยื่อบินกลางน้ำ ก็ต้องเลือกตัวเบ็ดให้เหมาะกับการตกปลาแต่ละครั้ง
อุปกรณ์ที่ต้องมีติดไว้แบบพอจำเป็นก็ดังในภาพที่สองครับ บางตัวก็มีหัวจิ๊ก บางตัวก็มีลวด หรือส่วนของการป้องกัน เบ็ดเกี่ยวกับวัชพืช หรือสิ่งแปลกปลอมใต้น้ำ
4.อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ขาดไม่ได้ก็ลูกหมุน ถัดไปก็คลิ๊ปเผื่อจะเอาไว้เปลี่ยนเหยื่อได้สะดวก ตะกั่ว ทรงกรวย ทรงกลม หรือแม้แต่ทรงตุ้ม อย่างลูกสีเขียว (ดังในภาพ) ก็นำมาใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน ที่สำคัญ ขนาดเล็ก ๆ ครับ
ให้ดูเหยื่อยางที่ใช้เป็นหลักครับ พวกจิ๊กหัวขน (แฮ่ะ ๆ อันนี้เรียกเอง) ก็นิยมใช้ร่วมกับ เหยื่อยางเช่นเดียวกัน เรียกว่าประกอบกันแล้ว ตัวเหยื่อดูหล่อขึ้นมาก และบางครั้งปลากัดมากกว่าการใช้เหยื่อยางอย่างเดียวครับ
สปินเนอร์เบท ก็นิยม เกี่ยวหนอนตัวเล็ก ๆ ไว้ที่ตัวเบ็ดด้วยเช่นเดียวกัน (ปกติ สปินเนอร์เบท ที่มีพู่อยู่ดังในภาพ ก็สามารถใช้ตกปลาได้โดยไม่ต้องมีเหยื่อยางนะครับ)
เรื่องของเทคนิคการประกอบเหยื่อ ถึงขึ้นการใช้งาน และ แอ็คชั่นของตัวเหยื่อที่เราหวังผล ผมของนำเสนอในกระทู้ถัด ๆ ไป
5.สเปรย์ดับกลิ่น เพิ่มกลิ่น และน้ำยาชุบกลิ่นให้เหยื่อยาง เป็นสิ่งสุดท้าย ที่ไม่จำเป็นต้องมีเท่าใดนัก แต่หากนักตกปลาท่านใด หวังผล และคาดหวังการได้ยลโฉมตัวปลามากกว่าปกติ หรือไม่อยากพลด อาหารจานเด็ดล่ะก้อ ของสิ่งนี้ ช่วยให้เพิ่มความน่าจะเป็นในการตกปลาได้มากขึ้นครับ เรื่องกลิ่นของเหยื่อยางนี้ ผู้เขียนได้อธิบายไว้คร่าว ๆ ในอีกบทความหนึ่ง คือ ตอน เรื่องของกลิ่นกรุ่น ๆ
สุดท้ายฝากไว้ ก่อนจบบทความนี้ คงต้องบอกก่อนว่า ผมเองไม่ได้โอ้อวด หรือมีความเก่งกาจในการตกปลามากกว่าทุกท่านแต่อย่างใด เพียงแต่ทุกครั้งของการออกทริปตกปลาของผม หากผมไม่ประสงค์จะได้ปลาที่ตกเพื่อเป็นอาหาร หรือหวังผลกับตัวปลา มากนัก ผมจะใช้เบ็ดแบบไม่มีเงี่ยง (ส่วนมาก ใช้คีมบีบเอา มีวิธีที่ดีกว่าคือนั่งใช้ตะไบ เล็ก ๆ ขัดออกครับ)
สาเหตุ เพราะการตกปลาด้วยเหยื่อยางกว่า 50 เปอร์เซนต์ของปลาที่ตกได้ จะกัดเหยื่อแบบกลืนลงคอ ดังภาพสุดท้ายครับ
ถ้ามีเงี่ยงอยู่เจ้าตัวนี้คงจะแย่เอาการ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแต่ละท่านครับ ไม่มีใครผิดใครถูกในเกมกีฬาชนิดนี้ไปทั้งหมด ผมขอจบบทความนี้แต่เพียงเท่านี้
ท่านใดมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือต้องการเสริมในส่วนใด ของบทความแนะนำเรื่องเหยื่อยางในตอนนี้ เชิญโพสต์เสริมไว้ หรือจะเขียนบทความให้กับเพื่อน ๆ ท่านอื่นได้อ่านกัน ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง
http://www.fishing4you.com
4.อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ขาดไม่ได้ก็ลูกหมุน ถัดไปก็คลิ๊ปเผื่อจะเอาไว้เปลี่ยนเหยื่อได้สะดวก ตะกั่ว ทรงกรวย ทรงกลม หรือแม้แต่ทรงตุ้ม อย่างลูกสีเขียว (ดังในภาพ) ก็นำมาใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน ที่สำคัญ ขนาดเล็ก ๆ ครับ
ให้ดูเหยื่อยางที่ใช้เป็นหลักครับ พวกจิ๊กหัวขน (แฮ่ะ ๆ อันนี้เรียกเอง) ก็นิยมใช้ร่วมกับ เหยื่อยางเช่นเดียวกัน เรียกว่าประกอบกันแล้ว ตัวเหยื่อดูหล่อขึ้นมาก และบางครั้งปลากัดมากกว่าการใช้เหยื่อยางอย่างเดียวครับ
สปินเนอร์เบท ก็นิยม เกี่ยวหนอนตัวเล็ก ๆ ไว้ที่ตัวเบ็ดด้วยเช่นเดียวกัน (ปกติ สปินเนอร์เบท ที่มีพู่อยู่ดังในภาพ ก็สามารถใช้ตกปลาได้โดยไม่ต้องมีเหยื่อยางนะครับ)
เรื่องของเทคนิคการประกอบเหยื่อ ถึงขึ้นการใช้งาน และ แอ็คชั่นของตัวเหยื่อที่เราหวังผล ผมของนำเสนอในกระทู้ถัด ๆ ไป
5.สเปรย์ดับกลิ่น เพิ่มกลิ่น และน้ำยาชุบกลิ่นให้เหยื่อยาง เป็นสิ่งสุดท้าย ที่ไม่จำเป็นต้องมีเท่าใดนัก แต่หากนักตกปลาท่านใด หวังผล และคาดหวังการได้ยลโฉมตัวปลามากกว่าปกติ หรือไม่อยากพลด อาหารจานเด็ดล่ะก้อ ของสิ่งนี้ ช่วยให้เพิ่มความน่าจะเป็นในการตกปลาได้มากขึ้นครับ เรื่องกลิ่นของเหยื่อยางนี้ ผู้เขียนได้อธิบายไว้คร่าว ๆ ในอีกบทความหนึ่ง คือ ตอน เรื่องของกลิ่นกรุ่น ๆ
สุดท้ายฝากไว้ ก่อนจบบทความนี้ คงต้องบอกก่อนว่า ผมเองไม่ได้โอ้อวด หรือมีความเก่งกาจในการตกปลามากกว่าทุกท่านแต่อย่างใด เพียงแต่ทุกครั้งของการออกทริปตกปลาของผม หากผมไม่ประสงค์จะได้ปลาที่ตกเพื่อเป็นอาหาร หรือหวังผลกับตัวปลา มากนัก ผมจะใช้เบ็ดแบบไม่มีเงี่ยง (ส่วนมาก ใช้คีมบีบเอา มีวิธีที่ดีกว่าคือนั่งใช้ตะไบ เล็ก ๆ ขัดออกครับ)
สาเหตุ เพราะการตกปลาด้วยเหยื่อยางกว่า 50 เปอร์เซนต์ของปลาที่ตกได้ จะกัดเหยื่อแบบกลืนลงคอ ดังภาพสุดท้ายครับ
ถ้ามีเงี่ยงอยู่เจ้าตัวนี้คงจะแย่เอาการ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแต่ละท่านครับ ไม่มีใครผิดใครถูกในเกมกีฬาชนิดนี้ไปทั้งหมด ผมขอจบบทความนี้แต่เพียงเท่านี้
ท่านใดมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือต้องการเสริมในส่วนใด ของบทความแนะนำเรื่องเหยื่อยางในตอนนี้ เชิญโพสต์เสริมไว้ หรือจะเขียนบทความให้กับเพื่อน ๆ ท่านอื่นได้อ่านกัน ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง
http://www.fishing4you.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น