วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

เรียนรู้ เรื่อง ตัวเบ็ด

 HOOK หรือตัวเบ็ดที่เราคุ้นเคย เป็นอุปกรณ์ที่เราคุ้นเคยมากที่สุดชิ้นหนึ่ง ถ้าจะบอกว่าตัวเบ็ดเป็นอุปกรณ์ที่มีรูปแบบหลากหลายที่สุดของอุปกรณ์ตกปลา ก็ไม่น่าจะผิดจากความจริงนัก จากรูปแบบของการตกปลาที่มีความหลากหลายหรือแตกต่างกันนั้น ทำให้มีตัวเบ็ดถูกผลิตออกมาหลากหลายรูปแบบ แต่เรามาดูกันดีกว่าว่าส่วนประกอบของตัวเบ็ดมีอะไรบ้างและมันสำคัญอย่างไร 


1.Point เป็นส่วนปลายแหลมที่สุดของตัวเบ็ด เป็นจุดที่ต้องเลือกดูให้ดีเป็นอันดับแรก ทุกวันนี้มีเทคโนโลยีมากมากมาย ในการทำปลายนี้ให้แหลมคม ถ้ามีความแหลมคมมากจะสามารถทะลุทะลวง สิ่งกีดขวางได้ง่ายและใช้แรงน้อยที่สุด
2.Barb  เป็นสิ่งที่สร้างความมั่นใจให้นักตกปลาหลายท่าน แต่ตัวเบ็ดหลายๆยี่ห้อก็ผลิตแบบที่ไม่มีจุดนี้มาจำหน่ายในตลาดเหมือนกัน การตกปลาแนวอนุรักษ์ ก็นิยมบีบเจ้านี่ทิ้งไป ตัวเบ็ดที่มีเงี่ยง จะสร้างบาดแผลที่ใหญ่โตให้กับปลาที่ตกได้ ทำให้ปลาได้รับบาดเจ็บมากเกินจำเป็นสำหรับการตกแล้วปล่อย และจุดนี้เองถ้ามีขนาดใหญ่มากเกินไปจะเป็นสาเหตุที่สำคัญของการที่ตัวเบ็ดหักหรือปลาหลุดโดยไม่ทราบสาเหตุ ขณะอัดปลา
    -ด้วยเหตุผลที่ว่ามันจะเป็นตัวขัดขวางการทะลุทะลวงของปลายแหลมด้วยความกว้างหรือหนาของมัน ทำให้แรงจากการเซ็ตฮุกไม่สามารถส่งแรงได้มากพอที่จะทำให้ตัวเบ็ดทะลุผ่านไปได้ ปลายเบ็ดจึงปักคาอยู่ที่กระดูกรอบปาก ทำให้ปลาหลุดได้ง่ายและที่หนักกว่านั้นจะทำให้ตัวเบ็ดหักไปเลย ลักษณะเหมือนเราง้างลวดรูปตัว U โดยจับที่ปลายทั้งสองด้านนั่นเอง
3.Bend ท้องเบ็ดเป็นจุดที่ออกแบบมาเวลาที่เซ็ตฮุกแล้ว จะมาจบที่นี่เป็นจุดที่เมื่อเบ็ดทะลุแล้วจมลงถึงท้องเบ็ด จะเป็นจุดที่แข็งแรงที่สุดเมื่อสู้ปลา แต่ถ้าเบ็ดไม่ทะลุก็จะเป็นดั่งข้อ 2 ที่กล่าวมาแล้ว
4. Gap-Throat  เป็นความกว้างและความสูงของท้องเบ็ด ต้องเลือกให้เหมาะกับเหยื่อที่ใช้และชนิดของปลาที่ตก หลายคนคงเคยมีปัญหาเวลาเกี่ยวเหยื่อแล้ว มีทีไม่พอ เหยื่อหลุดง่าย  ปลากินเหยื่อแล้วไม่ติดเบ็ด หลายสิ่งที่กล่าวมาบางครั้งเกิดจากจุดนี่
5.Shank ก้านเบ็ด มีแบบยาว สั้น โค้ง บิด หลายรูปแบบ ตามเทคนิคที่ใช้ตก แต่ตัวเบ็ดที่ก้านยาวจะใช้กับปลาล่าเหยื่อที่มีฟันคมเป็นหลัก โดยมีส่วนช่วยให้สายรอดพ้นจากการขาดโดยการถูกกัดเพราะก้านเบ็ดจะเลยออกมานอกปากปลา

6. Eye ตาเบ็ด จะมีแบบแบน และแบบห่วง ตามความเข้าใจของผม ทั้งสองแบบตกได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยมีวิธีผูกที่ต่างกันตามชนิดการใช้งาน 




  ความแข็งแรงของตัวเบ็ดจะขึ้นอยู่กับ วิธีและวัสดุที่นำมาผลิต ตัวเบ็ดที่ดีจะต้องหักได้นะครับ อย่าสงสัยครับตัวเบ็ดที่ทำจากคาร์บอนจะหักเมื่อมีโหลดเกิน ตัวเบ็ดจะไม่ง้างเด็ดขาด ตัวเบ็ดที่ง้างออกได้จะมีความล้าในเนื้อโลหะง่าย สาเหตุที่ทำให้ตัวเบ็ดต้องหักได้ก็เพราะเวลาที่ตัวเบ็ดไปเกี่ยวกับสิ่งกีดขวางใต้น้ำ ปลายเบ็ดจะปักลงไปเมื่อออกแรงดึงตัวเบ็ดก็จะหักดั่งที่อธิบายไปแล้ว
           ตัวเบ็ดที่บางเหมาะกับการตกปลาเกล็ด ที่ต้องการความเบาของตัวเบ็ดและการทะลุทะลวงที่สูงและรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้แรงมาก อย่างการตกด้วยคันชิงหลิวหรือสปิ๋ว ทรงเบ็ดจะเหมือนเมล็ดแตงโมมีส่วนท้องกว้างด้านล่างและแคบกว่าในด้านบน
         ตัวเบ็ดที่หนาละ งานที่มีความต้องการความแข็งแรงสูง ใช้สายแรงดึงมากๆ คันแข็ง มีการต่อสู้ยาวนานหนักหน่วง ตัวเบ็ดลักษณะนี้จะตัวจะหนาก้านเบ็ดใหญ่ จะยาวหรือสั้นก็อยู่ที่งานที่ใช้และเหยื่อ ข้อเสียที่พบบ่อยก็คือเรื่องปลาหลุดเพราะความหนาเป็นอุปสัก อีกเรื่องก็ปลาไม่ค่อยกินเหยื่อเรารู้กันว่าปลาจะดูดเหยื่อเข้าปลาตัวเบ็ดจึงลอยตามเข้าปากปลาไป ถ้าตัวเบ็ดหนาและหนักไปจะทำให้ปลิวตามแรงดูดได้ลำบากขึ้น ทำให้โอกาศได้ปลาลดลง
          อีกเรื่องที่อยากกล่าวไว้ตรงนี้ก็คือ จะเป็นตัวเบ็ดแบบตากลมหรือแบนไม่เกี่ยวกับความแข็งแรงของตัวเบ็ดครับ
   



http://www.fishing4you.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น