วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

สำหรับคนที่ พึ่งเคยไปบ่อ เเนะเเนวเรื่อง ตะกร้อ

    ตะกร้อเป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นมาในประเทศไทยนี่เอง  ในยุคเริ่มต้นของของการตกปลาบ่อสมัยนั้นเริ่มมีการเปิดบ่อตกปลาในกรุงเทพ  นักตกปลายุคนั้น(พ.ศ.2526) จะใช้ชุดสายหน้าแบบการตกปลาทะเลหรือแม่น้ำมาตกบ่อกัน ที่บึงใหญ่กับบึงสำราญ  บึงสำราญในหมู่บ้านสหกรณ์เคหะสถาน4  เปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฏาคม ปี2527  
                 เริ่มมีการสร้างเทคนิคการใช้เหยื่อล่อเหยื่อจริง(หุ้มเบ็ด)ขึ้นมาโดยใช้เหยื่อหุ้ม  ที่ตะกั่วบ้าง เบ็ด3ทางบ้าง เอาลวดพันกับลูกหมุนบ้าง ซึ่งทำให้ปลากินเหยื่อเร็วขึ้น   แต่ก็ยังเกาะอยู่ไม่ทนปั้นเหยื่อใหญ่ไม่ได้ก็ทดลองกันไปกันมาอยู่หลายวิธี   สมัยนั้นเป็นยุคที่ทุกอย่างใหม่หมดอุปกรณ์หลายอย่างถูกสร้างแล้วนำมาทดลองที่นี่  
                 ผู้ที่ทำตะกร้อออกมาจำหน่ายในรูปแบบขดสปิงคนแรกๆคือป๋าชรัฏ( ชรัฏ  หออัมพวันวงศ์)เจ้าของ ABU 6000 C สีแดงในตำนาน   ตะกร้อสปิงเป็นอุปกรณ์ที่ถูกนำมาเป็นส่วนประกอบในการทำชุดสายหน้าที่หลากหลายมากที่สุดจนถึงปัจจุบัน   
                 ตอนนั้นผมยังเด็กอยู่มากการตกปลาบ่อเป็นเรื่องที่ใหม่จริงๆ    มีสิ่งต่างๆให้เรียนรู้เสมอจึงนำสิ่งที่รู้มาถ่ายทอดไว้ให้ผู้สนใจนำไปเป็นแนวทางต่อไป  ที่นำมาให้ชมเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ได้

  1. เป็นตะกร้อตีรำ,เหยื่อขนมปัง,เหยื่อนวดแบบตกปลาหน้าดิน ใช้ได้ทั่วไปทั้ง   แม่น้ำ,ลำคลอง,หนอง,บึง,เขื่อน,อ่างเก็บน้ำและบ่อตกปลาทั่วไป


2. แบบนี้เพิ่มตะกั่วสำหรับ เวลาที่มีลมแรง ปลาไม่ระแวงมากจะทำให้เหยื่อจมน้ำได้เร็วและอยู่นิ่งกับที่มากกว่า  เป็นการเพิ่มน้ำหนักเหยื่อไปในตัวทำให้ตีเหยื่อได้ไกลมากขึ้นอีกด้วย


3..รูปแบบนี้เป็นแบบมีทุ่นลอยแขวนเหยื่อไว้ไม่ให้จมลงสู่หน้าดิน ปรับระดับความลึกของเหยื่อโดยลายสต๊อปเปอร์กำหนดระยะความลึกได้ตามความต้องการ นิยมมากตามบ่อตกปลา อ่างเก็บน้ำที่มีระดับความลึกมากๆครับ  หรือแหล่งน้ำที่พื้นมีอุปสักตอไม้ก้อนหินอยู่ในน้ำ  ทำให้เราตกปลาได้โดยไม่เสียตะกร้อไปจากการไปติดกับอุปสักต่างๆได้เป็นอย่างดี 


4.แบบต่อมาเหมือนแบบที่สาม แต่เราเพิ่มตะกั่วเข้าไปนิยมเรียกว่า ทิ้งสมอ กันทุ่นลอยออกจากตำแหน่งที่เราหมายตาไว้เพราะแรงลมจะพัดทุ่นลอยออกจากตำแหน่งที่อ่อยเหยื่อไว้ครับ  แก้ปัญหาสายเอ็นไม่จมน้ำอย่างได้ผลดี


http://www.fishing4you.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น